รับทำบัญชีบริหารเขตบางนาบางนา เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นแหล่งการค้า การบริการ และแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ท้องที่เขตบางนาในอดีตมีฐานะเป็น ตำบลบางนา เป็นเขตการปกครองหนึ่งของอำเภอพระโขนง จังหวัดพระประแดง (เปลี่ยนชื่อมาจากนครเขื่อนขันธ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2457) จนกระทั่งใน พ.ศ. 2470 ทางราชการได้พิจารณาโอนตำบลบางนาไปขึ้นกับอำเภอสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการแทน เพื่อความสะดวกในการปกครอง แต่ใน พ.ศ. 2472 ก็โอนกลับมาเป็นเขตการปกครองของอำเภอพระโขนง (ซึ่งได้ย้ายจากจังหวัดพระประแดงมาขึ้นกับจังหวัดพระนครอยู่ก่อนแล้ว) อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้กันมากกว่าและประชาชนไปติดต่อธุระราชการได้สะดวกกว่า
ต่อมาในท้องที่ตำบลบางนาเริ่มมีสภาพเป็นชุมชน ย่านการค้า อุตสาหกรรม และที่พักอาศัยหนาแน่นขึ้น ในการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2498 ทางราชการจึงโอนพื้นที่บางส่วนของตำบลบางนาเข้าไปในท้องที่ด้วย[5] ส่วนพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลนั้นได้กลายเป็นท้องที่ในเขตสุขาภิบาลประเวศซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506 จนกระทั่งมีการขยายเขตเทศบาลนครกรุงเทพออกไปอีกเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2507 จึงแยกไปรวมอยู่ในเขตเทศบาลทั้งตำบล
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดพระนครถูกรวมเข้ากับจังหวัดธนบุรี เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้ยกเลิกการปกครองแบบสุขาภิบาลและเทศบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่จากอำเภอและตำบลเป็นเขตและแขวงตามลำดับ ตำบลบางนาจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางนา ขึ้นกับเขตพระโขนง
ภายหลังในเขตพระโขนงและเขตอื่น ๆ ของกรุงเทพมหานครมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้น จำเป็นต้องจัดขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรในเขตต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมใกล้เคียงกัน เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตพระโขนง โดยแยกแขวงบางนาและบางส่วนของแขวงบางจากออกมาจัดตั้งเป็น เขตบางนา และในวันที่ 7 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน กรุงเทพมหานครได้ประกาศตั้งแขวงบางนาเต็มพื้นที่เขตบางนา เพื่อให้เกิดความชัดเจนและประโยชน์ในด้านการปกครอง การบริหาร และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และประกาศทั้ง 2 ฉบับเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันเดียวกันคือวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541
จนกระทั่งในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 กรุงเทพมหานครได้ประกาศยุบเลิกแขวงบางนาและจัดตั้งแขวงใหม่ 2 แขวงโดยใช้ถนนสรรพาวุธและถนนบางนา-ตราดฟากเหนือเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างกัน พื้นที่แขวงทางตอนเหนือของแขวงบางนาเดิมได้รับการตั้งชื่อว่า แขวงบางนาเหนือ และพื้นที่ทางตอนใต้ของแขวงบางนาเดิมได้รับการตั้งชื่อว่าแขวงบางนาใต้
รับทำบัญชีเขตบางนา,รับทำบัญชีบริหารเขตบางนา,รับยื่นภาษีเขตบางนา,ให้คำปรึกษาบัญชีเขตบางนา
ธุรกิจจะดำเนินไปได้อย่างมีระบบ เรื่องบัญชีกับธุรกิจจึงขาดไม่ได้เลย ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นตัวช่วยในการจัดสรรการบริหารรวบรวมงบ ประมาณ กำหนดต้นทุน
รับทำบัญชี รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ร้านค้า(ใบทะเบียนพาณิชย์) ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล
4 หลักการการบัญชีบริหาร
Chartered Institute of Management Accountants (2014) รายงานว่า วัตถุประสงค์ของหลักการของบัญชีบริหาร คือ เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในองค์กรผ่านสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง โดยการบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วย 4 หลักการ ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าแก่องค์กร คือ
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ให้ข้อมูลอย่างลึกซึ้งที่มีอิทธิพลอย่างทรงพลัง (Communication provides insight that is influential)สารสนเทศ
สารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็น (Information is relevant)
การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อคุณค่า (Impact on value is analyzed)
การสร้างความเชื่อมั่น
การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริหารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stewardship builds trust)
-
"การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)"
การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของส่วนงานต่างๆ ในองค์กรให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร
ประโยชน์ของ บัญชีบริหาร
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
บัญชีบริหารเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ข้อมูลทางบัญชีแม้จะเป็นเพียงตัวเลขแต่มันสะท้อนและสามารถทำให้รู้ว่าสถานะของธุรกิจในเวลานี้เป็นเช่นไร หากต้องตัดสินใจสิ่งนี่แหละจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดี
ทันต่อเหตุการณ์
แม้จะเป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือปัจจุบัน แต่บัญชีบริหารมันสามารถทำให้คุณทันต่อเหตุการณ์อย่างเช่น ราคาสินค้าเมื่อปีที่แล้วเท่าไหร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเท่าไหร่ แน่นอนทำให้คุณเห็นความแตกต่าง เมื่อต้องตัดสินใจในเวลาอันเร็วข้อมูลบัญชีบริหาร ช่วยคุณได้
มีความแม่นยำถูกต้อง
บัญชีบริหารมีความแม่นยำถูกต้อง หากคุณลงรายละเอียดไม่ถูกต้องก็ไม่มีประโยชน์เลย เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในธุรกิจ แถมยังสร้างปัญหาที่ยุ่งยากแก่คุณในอนาคตและปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ง่ายคือเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิง โดยต้องระบุแหล่งที่มาครบถ้วน
เปรียบเทียบข้อมูลกันได้
บัญชีบริหารนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ ข้อมูลทางบัญชีจะมีประโยชน์มากขึ้นหากสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดได้ อย่างเช่นสถานะธุรกิจในปีก่อนกับปีนี้แตกต่างกันแค่ไหน อย่างไร รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่กล่าวมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยยากต้องรื้อข้อมูลเก่ามาดู
สรุปผลตรงประเด็น
มีข้อมูลทางการบัญชีส่วนใหญ่อาจจะเป็นตัวเลขแต่การนำข้อความหรือประโยคควรมีข้อมูลที่กระชับและเข้าใจง่ายซึ่งบัญชีบริหารสามารถสรุปผลออกมาได้อย่างตรงประเด็น