รับทำบัญชีบริหารเขตบางบอนบางบอน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพทั่วไปทางด้านตะวันออกของเขตเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและหนาแน่นปานกลาง โดยมีย่านการค้าและเขตอุตสาหกรรมภายในพื้นที่ ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อยและเขตเกษตรกรรม บางบอนในอดีตเป็นชื่อหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีความเก่าแก่อย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีหลักฐานเป็นวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึง ได้แก่ โคลงนิราศทวาย (โคลงนิราศไปแม่น้ำน้อย) ของพระพิพิธสาลีในสมัยรัชกาลที่ 1 โคลงนิราศนรินทร์ ของนายนรินทรธิเบศร์ (อิน) ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ นิราศเมืองเพชร ของสุนทรภู่ในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาเมื่อมีการจัดการปกครองส่วนภูมิภาคโดยแบ่งออกเป็นมณฑล จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน บางบอนจึงกลายมาเป็นท้องที่การปกครองของอำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยในพื้นที่แถบนี้รวมทั้งพื้นที่ใกล้เคียงมีการปรับเปลี่ยนเขตการปกครองหลายครั้ง ในที่สุดเมื่อ พ.ศ. 2483 ทางราชการได้ยุบรวมท้องที่ตำบลบางบอนเหนือ ตำบลบางบอนใต้ และตำบลแสมดำเข้าด้วยกันและตั้งเป็น ตำบลบางบอน ขึ้น
ใน พ.ศ. 2514 จังหวัดธนบุรีถูกรวมเข้ากับจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และใน พ.ศ. 2515 จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกหน่วยการปกครองใหม่ด้วย ตำบลบางบอนจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงบางบอน และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางขุนเทียน
ภายหลังในเขตบางขุนเทียนมีความเจริญและมีประชากรหนาแน่นขึ้นมาก เพื่อให้การปกครองและการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยจึงประกาศแยกพื้นที่แขวงบางบอนออกจากเขตบางขุนเทียนตั้งเป็น เขตบางบอน โดยสำนักงานเขตบางบอนได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2541 เป็นสำนักงานเขตลำดับที่ 50 ของกรุงเทพมหานคร เดิมตั้งอยู่ที่อาคารตลาดสดเทพยดาอารักษ์ หมู่ที่ 4 แขวงบางบอน ต่อมาใน พ.ศ. 2547 ได้ย้ายมาตั้งสำนักงานเขตถาวรที่ซอยเอกชัย 135/1 หมู่ที่ 3 แขวงบางบอน
รับทำบัญชีเขตบางบอน,รับทำบัญชีบริหารเขตบางบอน,รับยื่นภาษีเขตบางบอน,ให้คำปรึกษาบัญชีเขตบางบอน
ธุรกิจจะดำเนินไปได้อย่างมีระบบ เรื่องบัญชีกับธุรกิจจึงขาดไม่ได้เลย ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นตัวช่วยในการจัดสรรการบริหารรวบรวมงบ ประมาณ กำหนดต้นทุน
รับทำบัญชี รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ร้านค้า(ใบทะเบียนพาณิชย์) ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล
4 หลักการการบัญชีบริหาร
Chartered Institute of Management Accountants (2014) รายงานว่า วัตถุประสงค์ของหลักการของบัญชีบริหาร คือ เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในองค์กรผ่านสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง โดยการบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วย 4 หลักการ ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าแก่องค์กร คือ
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ให้ข้อมูลอย่างลึกซึ้งที่มีอิทธิพลอย่างทรงพลัง (Communication provides insight that is influential)สารสนเทศ
สารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็น (Information is relevant)
การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อคุณค่า (Impact on value is analyzed)
การสร้างความเชื่อมั่น
การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริหารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stewardship builds trust)
-
"การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)"
การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของส่วนงานต่างๆ ในองค์กรให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร
ประโยชน์ของ บัญชีบริหาร
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
บัญชีบริหารเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ข้อมูลทางบัญชีแม้จะเป็นเพียงตัวเลขแต่มันสะท้อนและสามารถทำให้รู้ว่าสถานะของธุรกิจในเวลานี้เป็นเช่นไร หากต้องตัดสินใจสิ่งนี่แหละจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดี
ทันต่อเหตุการณ์
แม้จะเป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือปัจจุบัน แต่บัญชีบริหารมันสามารถทำให้คุณทันต่อเหตุการณ์อย่างเช่น ราคาสินค้าเมื่อปีที่แล้วเท่าไหร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเท่าไหร่ แน่นอนทำให้คุณเห็นความแตกต่าง เมื่อต้องตัดสินใจในเวลาอันเร็วข้อมูลบัญชีบริหาร ช่วยคุณได้
มีความแม่นยำถูกต้อง
บัญชีบริหารมีความแม่นยำถูกต้อง หากคุณลงรายละเอียดไม่ถูกต้องก็ไม่มีประโยชน์เลย เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในธุรกิจ แถมยังสร้างปัญหาที่ยุ่งยากแก่คุณในอนาคตและปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ง่ายคือเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิง โดยต้องระบุแหล่งที่มาครบถ้วน
เปรียบเทียบข้อมูลกันได้
บัญชีบริหารนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ ข้อมูลทางบัญชีจะมีประโยชน์มากขึ้นหากสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดได้ อย่างเช่นสถานะธุรกิจในปีก่อนกับปีนี้แตกต่างกันแค่ไหน อย่างไร รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่กล่าวมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยยากต้องรื้อข้อมูลเก่ามาดู
สรุปผลตรงประเด็น
มีข้อมูลทางการบัญชีส่วนใหญ่อาจจะเป็นตัวเลขแต่การนำข้อความหรือประโยคควรมีข้อมูลที่กระชับและเข้าใจง่ายซึ่งบัญชีบริหารสามารถสรุปผลออกมาได้อย่างตรงประเด็น