รับทำบัญชีบริหารเขตบางพลัดบางพลัด เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เดิมถือเป็นพื้นที่รอบนอก แต่ปัจจุบันมีความเจริญเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สภาพทั่วไปเป็นแหล่งการค้าและแหล่งที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก แต่ก็มีแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมตั้งอยู่ด้วยเช่นกัน มีข้อสันนิษฐานว่าชื่อ "บางพลัด" หมายถึง การพลัดหลงหรือหลงถิ่น เชื่อว่ามาจากเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2310 เมื่อผู้คนอพยพหนีลงมาสู่ที่นี่ได้พลัดหลงหรือหลงหายกัน เนื่องจากมีลำคลอง ลำประโดง และมีสวนแน่นขนัด ทำให้ผู้ที่เข้ามาในละแวกนี้มักจะเกิดการพลัดหลงเข้าออกไม่ถูกอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนามเช่นนี้มีความหมายในเชิงไม่เป็นมงคลในความเชื่อ จึงมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนเป็น "บางภัทร์" ใน พ.ศ. 2545 แต่ที่สุดก็ไม่ได้มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด
เดิมเขตบางพลัดมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในอำเภอหนึ่งของพระนคร มีชื่อว่า อำเภอบางพลัด ต่อมาถูกลดฐานะเป็น ตำบลบางพลัด ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกอกน้อย จังหวัดธนบุรี ภายหลังได้มีการรวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเปลี่ยนเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515 ตำบลบางพลัดจึงเปลี่ยนฐานะเป็น แขวงบางพลัด ขึ้นกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ได้มีการจัดตั้งที่ทำการแขวงบางพลัดโดยใช้อาคารเรียนของโรงเรียนวัดบางพลัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ซอยจรัญสนิทวงศ์ 79 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางพลัด เขตบางกอกน้อยในขนะนั้น ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2532 กรุงเทพมหานครได้จัดตั้งสำนักงานเขตบางกอกน้อย สาขาบางพลัด ขึ้นดูแลพื้นที่แขวงบางพลัด บางอ้อ บางบำหรุ และบางยี่ขัน ซึ่งต่อมาท้องที่ทั้ง 4 แขวงนี้ได้ยกฐานะขึ้นเป็น เขตบางพลัด ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อยและจัดตั้งเขตบางพลัด เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2534 ได้มีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางพลัด โดยโอนพื้นที่แขวงบางบำหรุและบางยี่ขันเฉพาะส่วนที่อยู่ทางทิศใต้ของถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับไปเป็นพื้นที่ในการปกครองของเขตบางกอกน้อยอีกครั้ง
รับทำบัญชีเขตบางพลัด,รับทำบัญชีบริหารเขตบางพลัด,รับยื่นภาษีเขตบางพลัด,ให้คำปรึกษาบัญชีเขตบางพลัด
ธุรกิจจะดำเนินไปได้อย่างมีระบบ เรื่องบัญชีกับธุรกิจจึงขาดไม่ได้เลย ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นตัวช่วยในการจัดสรรการบริหารรวบรวมงบ ประมาณ กำหนดต้นทุน
รับทำบัญชี รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ร้านค้า(ใบทะเบียนพาณิชย์) ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล
4 หลักการการบัญชีบริหาร
Chartered Institute of Management Accountants (2014) รายงานว่า วัตถุประสงค์ของหลักการของบัญชีบริหาร คือ เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในองค์กรผ่านสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง โดยการบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วย 4 หลักการ ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าแก่องค์กร คือ
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ให้ข้อมูลอย่างลึกซึ้งที่มีอิทธิพลอย่างทรงพลัง (Communication provides insight that is influential)สารสนเทศ
สารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็น (Information is relevant)
การวิเคราะห์
การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อคุณค่า (Impact on value is analyzed)
การสร้างความเชื่อมั่น
การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริหารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stewardship builds trust)
-
"การบัญชีบริหาร (Managerial Accounting)"
การจัดทำบัญชี และรายงานทางการเงินของส่วนงานต่างๆ ในองค์กรให้แก่ฝ่ายบริหารของกิจการเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม และตัดสินใจ การจัดทำข้อมูลทางบัญชีจะทำตามความเหมาะสม และตามความต้องการของฝ่ายบริหาร
ประโยชน์ของ บัญชีบริหาร
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ
บัญชีบริหารเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ข้อมูลทางบัญชีแม้จะเป็นเพียงตัวเลขแต่มันสะท้อนและสามารถทำให้รู้ว่าสถานะของธุรกิจในเวลานี้เป็นเช่นไร หากต้องตัดสินใจสิ่งนี่แหละจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดี
ทันต่อเหตุการณ์
แม้จะเป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือปัจจุบัน แต่บัญชีบริหารมันสามารถทำให้คุณทันต่อเหตุการณ์อย่างเช่น ราคาสินค้าเมื่อปีที่แล้วเท่าไหร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเท่าไหร่ แน่นอนทำให้คุณเห็นความแตกต่าง เมื่อต้องตัดสินใจในเวลาอันเร็วข้อมูลบัญชีบริหาร ช่วยคุณได้
มีความแม่นยำถูกต้อง
บัญชีบริหารมีความแม่นยำถูกต้อง หากคุณลงรายละเอียดไม่ถูกต้องก็ไม่มีประโยชน์เลย เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในธุรกิจ แถมยังสร้างปัญหาที่ยุ่งยากแก่คุณในอนาคตและปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ง่ายคือเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิง โดยต้องระบุแหล่งที่มาครบถ้วน
เปรียบเทียบข้อมูลกันได้
บัญชีบริหารนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ ข้อมูลทางบัญชีจะมีประโยชน์มากขึ้นหากสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดได้ อย่างเช่นสถานะธุรกิจในปีก่อนกับปีนี้แตกต่างกันแค่ไหน อย่างไร รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่กล่าวมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยยากต้องรื้อข้อมูลเก่ามาดู
สรุปผลตรงประเด็น
มีข้อมูลทางการบัญชีส่วนใหญ่อาจจะเป็นตัวเลขแต่การนำข้อความหรือประโยคควรมีข้อมูลที่กระชับและเข้าใจง่ายซึ่งบัญชีบริหารสามารถสรุปผลออกมาได้อย่างตรงประเด็น