รับทำบัญชีบริหารเขตปทุมวัน

รับทำบัญชีบริหารเขตปทุมวันปทุมวัน เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร เป็นเขตศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การบริการ การพยาบาล วัฒนธรรม การศึกษา และการทูต เป็นเขตหนึ่งที่มีที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางที่สุดของกรุงเทพมหานคร และที่มีการคมนาคมหลากหลายช่องทาง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณคลองแสนแสบ ซึ่งในขณะนั้นยังมีสภาพเป็นท้องนาชานเมือง มีบัวพันธุ์ไทยขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสระบัว 2 สระ และพระตำหนักสำหรับเป็นที่ประทับพักผ่อนซึ่งในปัจจุบันเป็นวังสระปทุม (วังที่ประทับของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี) และต่อมาได้โปรด ฯ ให้สร้างวัดปทุมวนาราม (แปลว่า "วัดป่าบัว") ขึ้นเป็นพระอารามหลวง บริเวณดังกล่าวจึงมีชื่อเรียกว่า ปทุมวัน

อำเภอปทุมวัน อนึงในอดีตอำเภอประทุมวันนั้นได้มีประกาศกระทรวงนครบาล ระบุว่า เนื่องจากอำเภอสระประทุมวัน มีอาณาเขตไม่กว้างขวาง ทั้งการงานมีน้อย จึงยกเลิกอำเภอสระประทุมวันเสีย โดยรวมพื้นที่เข้ากับอำเภอสามเพ็งและอำเภอดุสิต ต่อมาในปี พ.ศ. 2458 ได้มีการประกาศยกเลิกอำเภอชั้นใน 7 อำเภอและตั้งอำเภอชั้นในขึ้นใหม่ 25 อำเภอ โดยใน 25 อำเภอมีอำเภอปทุมวัน โดยใช้ที่ว่าการอำเภอสามแยก (ต่อมายุบรวมกับอำเภอสัมพันธวงศ์) เป็นที่ทำการในขั้นแรก จากนั้นจึงย้ายมาตั้งอยู่ที่สี่แยกปทุมวัน และได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันในซอยจุฬาลงกรณ์ 5 ถนนพระรามที่ 4 ใน พ.ศ. 2506 ใน พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติจัดตั้งกรุงเทพมหานครขึ้นแทนที่นครหลวงกรุงเทพธนบุรีซึ่งเกิดจากการรวมกันของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี อำเภอปทุมวันจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตปทุมวัน ขึ้นกับกรุงเทพมหานคร ส่วนตำบลต่าง ๆ ในท้องที่ก็มีฐานะเป็นแขวง
รับทำบัญชีเขตปทุมวัน,รับทำบัญชีบริหารเขตปทุมวัน,รับยื่นภาษีเขตปทุมวัน,ให้คำปรึกษาบัญชีเขตปทุมวัน

Slide Background
การเริ่มต้นทำธุรกิจจะเป็นไปได้ด้วยดี ถ้าสามารถรู้ วิธีวิเคราะห์รายได้ของธุรกิจเป็นอย่างไร ได้กำไรมากน้อยแค่ไหนดูได้จาก
"บัญชีบริหาร"

ธุรกิจจะดำเนินไปได้อย่างมีระบบ เรื่องบัญชีกับธุรกิจจึงขาดไม่ได้เลย ไม่เพียงเท่านี้ยังเป็นตัวช่วยในการจัดสรรการบริหารรวบรวมงบ ประมาณ กำหนดต้นทุน

รับทำบัญชี รับยื่นภาษีบุคคลธรรมดา ร้านค้า(ใบทะเบียนพาณิชย์) ห้างหุ้นส่วนสามัญ คณะบุคคล

4 หลักการการบัญชีบริหาร

Chartered Institute of Management Accountants (2014) รายงานว่า วัตถุประสงค์ของหลักการของบัญชีบริหาร คือ เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจในองค์กรผ่านสารสนเทศที่มีคุณภาพสูง โดยการบัญชีบริหารนั้น ประกอบด้วย 4 หลักการ ซึ่งจะทำให้เกิดคุณค่าแก่องค์กร คือ
การสื่อสาร
การสื่อสารที่ให้ข้อมูลอย่างลึกซึ้งที่มีอิทธิพลอย่างทรงพลัง (Communication provides insight that is influential)
สารสนเทศ

สารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้องและตรงประเด็น (Information is relevant)

การวิเคราะห์

การวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อคุณค่า (Impact on value is analyzed)

การสร้างความเชื่อมั่น

การสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริหารต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stewardship builds trust)

ประโยชน์ของ บัญชีบริหาร

ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ

บัญชีบริหารเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจ ข้อมูลทางบัญชีแม้จะเป็นเพียงตัวเลขแต่มันสะท้อนและสามารถทำให้รู้ว่าสถานะของธุรกิจในเวลานี้เป็นเช่นไร หากต้องตัดสินใจสิ่งนี่แหละจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ได้ผลลัพธ์ออกมาดี

ทันต่อเหตุการณ์

แม้จะเป็นเพียงข้อมูลในอดีตหรือปัจจุบัน แต่บัญชีบริหารมันสามารถทำให้คุณทันต่อเหตุการณ์อย่างเช่น ราคาสินค้าเมื่อปีที่แล้วเท่าไหร่ เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับปัจจุบันเท่าไหร่ แน่นอนทำให้คุณเห็นความแตกต่าง เมื่อต้องตัดสินใจในเวลาอันเร็วข้อมูลบัญชีบริหาร ช่วยคุณได้

มีความแม่นยำถูกต้อง

บัญชีบริหารมีความแม่นยำถูกต้อง หากคุณลงรายละเอียดไม่ถูกต้องก็ไม่มีประโยชน์เลย เพราะไม่สามารถนำมาใช้ได้ในธุรกิจ แถมยังสร้างปัญหาที่ยุ่งยากแก่คุณในอนาคตและปัจจุบันอีกด้วย ฉะนั้นสิ่งที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบได้ง่ายคือเอกสารหรือหลักฐานอ้างอิง โดยต้องระบุแหล่งที่มาครบถ้วน

เปรียบเทียบข้อมูลกันได้

บัญชีบริหารนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้ ข้อมูลทางบัญชีจะมีประโยชน์มากขึ้นหากสามารถนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุปที่ดีที่สุดได้ อย่างเช่นสถานะธุรกิจในปีก่อนกับปีนี้แตกต่างกันแค่ไหน อย่างไร รายรับรายจ่ายเป็นอย่างไร สาเหตุมาจากไหน หากมีข้อมูลที่ครบถ้วนตามที่กล่าวมานั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากเลยยากต้องรื้อข้อมูลเก่ามาดู

สรุปผลตรงประเด็น

มีข้อมูลทางการบัญชีส่วนใหญ่อาจจะเป็นตัวเลขแต่การนำข้อความหรือประโยคควรมีข้อมูลที่กระชับและเข้าใจง่ายซึ่งบัญชีบริหารสามารถสรุปผลออกมาได้อย่างตรงประเด็น

ลดต้นทุนได้ไม่ยาก
บัญชีบริหารช่วยในเรื่องการลดต้นทุนได้ไม่ยาก ช่วงแรกเริ่มของธุรกิจแน่นอนคุณอาจจะยังไม่สามารถเห็นถึงความแตกต่างของราคาสินค้า หากแต่ธุรกิจนั้นดำเนินการมาอย่างยาวนาน มีรายรับรายจ่ายถูกบันทึกในรูปแบบบัญชีบริหาร ทุกธุรกิจล้วนหวังผลกำไร แต่จะดีแค่ไหนหากคุณรู้จักวางแผน ตรวจสอบบัญชีย้อนหลังเพื่อหาข้อมูล แล้วนำมาคู่กับการตัดสินใจในการเลือกสินค้าที่ถูกและสร้างกำไรให้ได้มากที่สุด นั้นก็ถือเป็นการลดต้นทุนแล้ว